บทที่6ดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์
1.ดาวฤกษ์

     คือ ก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่ 99% เป็นHรองลงมาคือHeรวมตัวอยู่ในสภาวะสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วง
     -ดาวฤกษ์ทุกดวงมีสมบัติเหมือนกันอยู่ 2 ประการ
          1.สร้างพลังงานได้ด้วยตัวเอง                      
          2.มีวิวัฒนาการ

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
-เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา
-ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย มีความสว่างน้อย จะใช้เชื้อเพลิงน้อย จึงมีช่วงชีวิตยาวและจบชีวิตด้วยการไม่ระเบิด
-ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่มวลมาก แสงสว่างมาก ใช้เชื้อเพลิงมาก จะมีช่วงชีวิตสั้นและจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง เรียกว่า ซเปอร์โนวา (Supernova)




2.กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์

-เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลาด้วยแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง ผลที่ตามมาคืออุณหภูมิจะสูงขึ้นจนถึง 15 ล้านเคลวินทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์กลายเป็นดวงอาทิตย์ ซึ่งปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หาได้จาก E = mc^2
-ปัจจุบันดวงอาทิตย์มีอายุ 4600 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง นับจากปัจจุบันไปอีกประมาณ5000ล้านปี ดวงอาทิตย์จะมีอายุ10000ล้านปี จะเปลี่ยนเป็นดาวยักษ์แดง
-ในช่วงท้ายจะยุบตัวเป็นดาวแคระขาว

3.ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง (Brightness) ของดาวฤกษ์เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาใน1วินาทีต่อหน่วยพื้นที่ ณ ตำแหน่งของผู้สังเกต
  -ค่าการเปรียบเทียบความสว่างของดาวฤกษ์ เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด หรือ โชติมาตร ไม่มีหน่วย
  -มีหลักว่าดวงดาวริบหรี่ที่สุดที่ตาเปล่ามองเห็นมีค่าโชติมาตร 6 และดาวสว่างที่สุดที่ตาเปล่ามองเห็นได้มีค่าโชติมาตร 1
  -ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.512 เท่า
  -สมมติอันดับความสว่างต่างกัน n จะสว่างต่างกัน 2.5 ยกกำลัง n เท่า



4.สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์
-สีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและช่วงอายุ
-ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีสีน้ำเงิน และอุณหภูมิผิวสูง ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยมีสีแดงและมีอุณหภูมิผิวต่ำ
-จำระดับชนิดของสเปกตรัมง่ายๆว่า Ob Be A Fine Girl Kiss Me



5.ระยะห่างดาวฤกษ์
วิธีหนึ่งที่สำคัญคือการหาแพรัลแลกซ์ของดาวดวงนั้น คือการสังเกตดาวเปลี่ยนตำแหน่ง 2 ครั้งในช่วงเวลาห่างกัน 6 เดือน




สูตร การหาระยะทางด้วยมุมแพรัลแลกซ์

                   d = 1/p   

  d =  ระยะทางถึงดวงดาว (distance) หน่วยเป็นพาร์เสค (pc)
  p =  มุมแพรัลแลกซ์ (parallax angle) หน่วยเป็นฟิลิบดา (arc second)

 โดยที่ 1 องศา = 60 ลิบดา (arc minute), 1 ลิบดา = 60 ฟิลิบดา (arc second)


6.เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์
-เนบิวลา (Nebula) - เป็นกลุ่มผุ่นและแก๊สที่กระจายอยู่บริเวณกว้างใหญ่ที่มีความสว่างจากดาวฤกษ์เกิดใหม่
-ต้นกำเนิดของเนบิวลาคือสสารดั้งเดิมหลังจากการกำเนิดโมเลกุลของHและHeภายในกาแล็กซี บางแห่งอาจเป็นซากที่เหลือจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่
-แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
     1.เนบิวลาสว่างประเภทเรืองแสง



     2.เนบิวลาสว่างประเภทสะท้อนแสง


     3.เนบิวลาดาวเคราะห์

     4.เนบิวลามืด

7.ระบบดาวฤกษ์

 คือ ดาวฤกษ์กลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่งที่โคจรอยู่รอบกันและกัน โดยมีแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้จับกลุ่มกันไว้ เช่น ดาวซีรีอัส ซึ่งเป็นดาวคู่ เป็นระบบดาวฤกษ์ 2 ดวง เคลื่อนรอบซึ่งกันและกันด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวแอลฟาเซนเทารี เป็นระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง ระบบดาวฤกษ์ที่มีดาวฤกษ์เป็นจำนวนมาก เราเรียกว่า กระจุกดาว เช่น กระจุกดาวลูกไก่ ซึ่งมีดาวฤกษ์มากกว่าร้อยดวง กระจุกดาวทรงกลมเอ็ม 13มีดาวฤกษ์มากกว่าแสนดวง สาเหตุที่เกิดดาวฤกษ์เป็นระบบต่างๆกัน เพราะเนบิวลาเนบิวลาต้นกำเนิดมีปริมาณและขนาดต่างๆกัน

8. มวลของดาวฤกษ์


มวลของดาวฤกษ์แต่ละดวงจะแตกต่างกัน เพราะเนบิวลาที่ก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์มีมวลไม่เท่ากัน มวลจึงเป็นสมบัติที่แตกต่างกันของดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สามารถหามวลของดาวฤกษ์ได้หลายวิธี เช่น การใช้กฎเคพเลอร์ในการหามวลของดวงอาทิตย์ หรือ จากการสังเกตแสงจากดาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น